สารอินทรีย์

เมื่อวานบอกให้รู้กันไปแล้ว การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีอย่างถูกวิธี ช่วยลดต้นทุนไปได้กว่า 10% เพิ่มผลผลิตได้ไม่น้อยกว่า 25%…วันนี้มาว่ากันต่อ ปุ๋ยเคมีที่มักตกเป็นจำเลยสังคมนี้ แท้จริงแล้วคืออะไร และถ้าเราใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว หรือปุ๋ยเคมีอย่างเดียว มีข้อดี ข้อด้อยอย่างไร

ปุ๋ยเคมีตัวแรก N ไนโตรเจน ส่วนใหญ่ได้จากกระบวนการปิโตรเคมีของก๊าซธรรมชาติและการผลิตถ่านหิน ทำให้ราคาขึ้นลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก มีแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น เกิดจากไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจน แล้วนำแอมโมเนียมาผลิตปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) และแอมโมเนียซัลเฟต (21-0-0)

ตัวต่อมา P ฟอสฟอรัส มาจากการนำหินฟอสเฟต มาบดละเอียดผสมกับกรดกำมะถัน เพื่อให้ได้กรดฟอสฟอริก จากนั้นนำไปทำปฏิกิริยากับแอมโมเนีย จะได้แม่ปุ๋ย DAP สูตร 18-46-0 และแม่ปุ๋ย MAP สูตร 11-52-0

ตัวสุดท้าย K โปแตสเซียม เป็นปุ๋ยที่มาจากแร่โปแตช ที่เราต้องนำเข้าปีละ 500,000-700,000 ตัน ทั้งที่เรามีแหล่งโปแตช ที่ จ.ชัยภูมิและอุดรธานี เป็นแหล่งใหญ่และมีคุณภาพดีอันดับต้นๆ ของโลก แต่ก็ติดปัญหาหลายประการ แม้จะได้ประทานบัตรทำเหมืองแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเท่าไร

คลิก: http://www.thecelticcenter.com/?p=490

คราวนี้มาดูปริมาณธาตุอาหารของปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกับปุ๋ยเคมี มันแตกต่างแค่ไหน

ข้อมูล ศ.เกียรติคุณ ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ภาคปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุ…เราต้องใช้ขี้ค้างคาว (ปุ๋ยคอกที่จัดว่าดีสุด) 8 กก., ปุ๋ยขี้ไก่ 12 กก., ขี้เป็ด 14 กก., ขี้หมู 18 กก., ขี้วัว 40 กก. และปุ๋ยหมัก 44-70 กก.

ถึงจะให้ผลผลิตได้เท่ากับปุ๋ยเคมี 1 กก.

ถ้าถามว่าใช้ปุ๋ยอย่างใดอย่างหนึ่งได้มั้ย…คำตอบคือได้ แต่ต้องถามกลับ ทำเกษตรเพื่อขายหรือไว้กินในครัวเรือน ถ้าทำกินเองใช้แต่อินทรีย์หรือเคมีก็ได้ เพราะโวลุ่มไม่ใหญ่ ไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณ

แต่ถ้าทำเกษตรอุตสาหกรรมหวังขาย อย่างที่บอก ปุ๋ยอินทรีย์ใช้เวลานานกว่าจะย่อยสลาย แถมต้องใช้ในปริมาณมาก ถ้าทำเองไม่ได้ ต้องซื้อเขามา ต้นทุนจะแพงหูฉี่…จริงไม่จริง ลองไปซื้อมาใช้ดูได้

เครดิต: ไทยรัฐ